วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์คืออะไร

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องจักรที่ทำงานหรือทำการคำนวณตามชุดคำสั่ง หรือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์เครื่องแรกได้รับการเปิดตัวในทศวรรษ 1940 โดยเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้ทีมงานจำนวนมากในการดำเนินการ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องรุ่นแรกๆ คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันถือว่ายอดเยี่ยมอย่างมาก คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไม่เพียงแต่เร็วขึ้นกว่าเดิมหลายพันเท่า แต่ยังสามารถวางไว้บนโต๊ะทำงาน บนหน้าตัก หรือแม้แต่ใส่ไว้ในกระเป๋าได้อย่างพอเหมาะ
คอมพิวเตอร์ทำงานผ่านการโต้ตอบของฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ หมายถึงส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเห็นและสัมผัสได้ รวมถึงตัวเครื่องและสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในเครื่อง ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ที่สำคัญที่สุดคือชิปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กภายในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น "สมอง" ของคอมพิวเตอร์ โดยชิ้นส่วนนี้จะแปลคำสั่งและทำการคำนวณ รายการฮาร์ดแวร์ เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องพิมพ์ และส่วนประกอบอื่นๆ มักจะเรียกว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือ อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์ หมายถึงคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ออกคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ระบบปฏิบัติการ (OS) คือซอฟต์แวร์ที่จัดการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

ชนิดของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีขนาดและความสามารถแตกต่างกันไป ด้านหนึ่งเป็น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก โดยมีไมโครโพรเซสเซอร์ที่เชื่อมต่อกันนับพันชุด ทำหน้าที่คำนวณงานที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ส่วนอีกด้านเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในรถยนต์ ทีวี ระบบสเตอริโอ เครื่องคิดเลข และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการทำงานแบบจำกัด
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ พีซี ได้รับการออกแบบให้ใช้ได้ครั้งละหนึ่งคน

คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป

คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานบนโต๊ะ โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดอื่นๆ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่แยกจากกัน ส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า หน่วยระบบมักจะเป็นตัวเครื่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางอยู่บนโต๊ะหรือใต้โต๊ะ ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น จอภาพ เมาส์ และแป้นพิมพ์ จะเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ



คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป


แล็ปท็อปและเน็ตบุ๊ก

แล็ปท็อป(โน้ตบุ๊ก) เป็นพีซีเคลื่อนที่ที่มีน้ำหนักเบาและมีหน้าจอบาง แล็ปท็อปสามารถทำงานได้โดยใช้แบตเตอรี่ ดังนั้นคุณจึงสามารถนำแล็ปท็อปไปได้ทุกที่ อย่างไรก็ตาม แล็ปท็อปจะไม่เหมือนกับเดสก์ท็อป เนื่องจากได้รวม CPU หน้าจอ และแป้นพิมพ์ไว้ในตัวเครื่องเดียวกัน หน้าจอจะพับลงบนแป้นพิมพ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
เน็ตบุ๊ก (อาจเรียกว่า โน้ตบุ๊กขนาดเล็ก) คือแล็ปท็อปขนาดเล็กที่มีราคาไม่สูงนัก ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานแบบจำกัด โดยปกติแล้วจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าแล็ปท็อป เนื่องจากใช้เพื่อเรียกดูเว็บและตรวจสอบอีเมลเป็นหลัก



แล็ปท็อปและเน็ตบุ๊ก


สมาร์ทโฟน

สมาร์ทโฟน คือโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถบางอย่างเหมือนกับคอมพิวเตอร์ คุณสามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่อโทรศัพท์ เข้าถึงอินเทอร์เน็ต จัดระเบียบข้อมูลที่ติดต่อ ส่งอีเมลและข้อความ เล่นเกม และถ่ายรูปได้ โดยปกติแล้ว สมาร์ทโฟนจะมีแป้นพิมพ์และหน้าจอขนาดใหญ่



สมาร์ทโฟน


คอมพิวเตอร์มือถือ

คอมพิวเตอร์มือถือ หรือที่เรียกว่า เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่และเล็กพอที่จะพกพาไปได้เกือบทุกที่ แม้ว่าประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์มือถือจะไม่เท่ากับเดสก์ท็อปหรือแล็ปท็อป แต่คอมพิวเตอร์มือถือก็มีประโยชน์สำหรับการกำหนดนัดหมาย การเก็บที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการเล่นเกมต่างๆ คอมพิวเตอร์มือถือบางรุ่นมีประสิทธิภาพสูงกว่านั้น เช่น สามารถใช้โทรศัพท์หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ คอมพิวเตอร์มือถือจะมีหน้าจอสัมผัสที่คุณสามารถใช้นิ้วมือหรือ สไตลัส (อุปกรณ์ชี้ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา) แทนแป้นพิมพ์ได้



คอมพิวเตอร์มือถือ


แท็บเล็ตพีซี

แท็บเล็ตพีซี คือพีซีเคลื่อนที่ที่รวมคุณลักษณะของแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์มือถือเข้าด้วยกัน แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับแล็ปท็อปตรงที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน้าจอแบบในตัว แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับคอมพิวเตอร์มือถือตรงที่อนุญาตให้คุณเขียนบันทึกย่อหรือวาดภาพบนหน้าจอ ซึ่งปกติจะใช้ปากกาแท็บเล็ตแทนสไตลัส นอกจากนี้ยังสามารถแปลงลายมือของคุณให้เป็นข้อความแบบพิมพ์ได้ด้วย แท็บเล็ตพีซีบางรุ่นเป็นแบบ "หมุนพับได้" โดยมีหน้าจอที่สามารถหมุนและเปิดออกเพื่อแสดงให้เห็นแป้นพิมพ์ที่อยู่ด้านล่าง




แท็บเล็ตพีซี







เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) 

เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย




2.ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (แลน) Local Area Network (LAN)

คือ ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนักอาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน






3.ระบบเครือข่ายระดับเมือง (แมน) Metropolitan Area Network (MAN)

เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป  เช่น  การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน  การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network: CAN)





4. ระบบเครือข่ายระยะไกล (แวน) Wide Area Network (WAN)

คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสารหรือสามารถนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบธนาคารทั่วโลก หรือเครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น





เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

1 .
เครือข่ายส่วนตัว (
private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของ ข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้


2.
เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (
VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ












Credit...

http://windows.microsoft.com/th-th/windows/introduction-to-computers#1TC=windows-7

https://sangsuriyokkw.wordpress.com/category/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

http://www.wimut.ac.th/61/22/profile.html

https://nrs56.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-2/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-wan/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น