"นักเรียน ทำความเคารพ"
"สวัสดีครับ/ค่ะ อาจารย์"
"สวัสดีครับ นักเรียนที่น่ารักทุกคน" "วันนี้ครูมีกิจกรรมมาให้ทำกัน ห้องนี้มีนักเรียนกี่คนนะ?"
"34 คน ค่ะ"
"งั้นแบ่งกลุ่มกัน 3 กลุ่มนะ กลุ่มละ 11-12 คน" "ให้นักเรียนกลุ่มที่ 1 หาข้อมูลเรื่อง "Social Network คืออะไร?""
"กลุ่มที่ 2 หาข้อมูลเรื่อง"Social Network กับนักเรียน""
"กลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่ 3 หาข้อมูลเรื่อง"Social Network กับสังคมไทย""
"เมื่อหาข้อมูลได้แล้ว ให้พูดคุยกันในกลุ่ม แล้วสรุปข้อมูลออกมาให้ความรู้กับเพื่อนกลุ่มที่เหลือหน้าห้องนะครับ" "ให้เวลาหาข้อมูล 30 นาทีนะครับ เชิญเลยครับ"
..............................30 minute later...............................
"ครับ กลุ่มแรกออกมาเลยครับ ส่งตัวแทนมาพูดก็ได้ครับ"
"ครับ กลุ่มผมได้หาข้อมูลเรื่อง Social Network คืออะไร? ครับ"
Social Network ก็คือเครือข่ายสังคมแบบออนไลน์ ที่เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงเพื่อนของเราและเพื่อนของเพื่อนของเราได้นับพันๆคน ผ่านผู้ให้บริการทางโซเชียลบนอินเทอร์เน็ต เช่น Hi5, Tagged, Facebook, Twitter และ Blogger เป็นต้น การเชื่่อมโยงนี้ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา เมื่อเราเขียนข้อความหรือโพสต์ข้อความต่างๆลงไป เพื่อนๆของเราก็จะสามารถเห็นข้อความนั้นได้ และสามารถมีส่วนร่วมกับสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น(comment) กดไลค์(Like) ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามผู้ให้บริการ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ
แบ่งได้เป็น
1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website
+ Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog
จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม
มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก
ข้อมูลใหม่ที่
Post จะอยู่บนสุด ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ
แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog
เข้าไว้ด้วยกัน
สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน
(Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้
โดยสามารถ
comment บทความ ติดตาม หรือกดโหวตได้
เช่น Blogger เป็นต้น
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ
ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ
เช่น Twitter
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ
เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์
ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์ นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก
หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น
เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ
หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์
เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง
เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้
โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
แบ่งได้เป็น
1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน
เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น
ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook,
Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ
มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้
มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน
เช่น
เว็บรวมนักเขียนนิยาย
เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ
เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก
ฯลฯ ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า
หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network) เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ
กับเว็บเผยแพร่ผลงาน คือ
รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested
Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์
หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม
หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ
โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้
โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย
หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง
เช่น
Second Life, The SIM เป็นต้น
"ครับ ดีมากครับกลุ่มแรก กลุ่มต่อไป กลุ่มที่ 2 ครับ"
"ค่ะ กลุ่มเราได้หัวข้อ Social Network กับนักเรียนค่ะ"
Social Network นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ซึ่งนักเรียนอย่างพวกเรานั้นสามารถใช้ประโยชน์จาก Social Network ได้หลายทาง จะขอยกตัวอย่างการใช้ Social Network ของเรานะคะ
เราใช้ Social Network ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆทั้งในห้องเรียนนี้ เพื่อนต่างห้อง เพื่อนต่างโรงเรียน จนไปถึงบุคคลทั่วไปค่ะ เรื่องที่ติดต่อกันก็จะมี พูดคุยกันเล่นๆเรื่อยเปื่อย ถามงาน ถามการบ้าน ประมาณนี้ค่ะ และยังใช้ติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เพื่อนๆโพสต์ไว้ด้วยค่ะ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากเพื่อนๆบางคนนะคะ เพื่อนๆอาจใช้ติดต่อกับบุคคลที่มีความชอบเหมือนๆกันเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้สะดวก หรืออาจใช้เผยแพร่ผลงานต่างๆที่เพื่อนๆเป็นคนทำก็ได้ เช่น นิยาย ค่ะ
ยังไงก็ตาม Social Network นั้นก็ยังมีโทษอยู่ถ้าเราใช้มันในทางที่ผิด หรือในทางที่ไม่ดี เพราะฉนั้น กลุ่มของเราเลยอยากให้เพื่อนๆใช้ Social Network ในทางที่ถูกต้องนะคะ
"โอเคครับ กลุ่มสุดท้ายครับ"
"ค่ะ กลุ่มของเราได้เรื่อง Social Network กับสังคมไทย ค่ะ"
Social Network นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ซึ่งนักเรียนอย่างพวกเรานั้นสามารถใช้ประโยชน์จาก Social Network ได้หลายทาง จะขอยกตัวอย่างการใช้ Social Network ของเรานะคะ
เราใช้ Social Network ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆทั้งในห้องเรียนนี้ เพื่อนต่างห้อง เพื่อนต่างโรงเรียน จนไปถึงบุคคลทั่วไปค่ะ เรื่องที่ติดต่อกันก็จะมี พูดคุยกันเล่นๆเรื่อยเปื่อย ถามงาน ถามการบ้าน ประมาณนี้ค่ะ และยังใช้ติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เพื่อนๆโพสต์ไว้ด้วยค่ะ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากเพื่อนๆบางคนนะคะ เพื่อนๆอาจใช้ติดต่อกับบุคคลที่มีความชอบเหมือนๆกันเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้สะดวก หรืออาจใช้เผยแพร่ผลงานต่างๆที่เพื่อนๆเป็นคนทำก็ได้ เช่น นิยาย ค่ะ
ยังไงก็ตาม Social Network นั้นก็ยังมีโทษอยู่ถ้าเราใช้มันในทางที่ผิด หรือในทางที่ไม่ดี เพราะฉนั้น กลุ่มของเราเลยอยากให้เพื่อนๆใช้ Social Network ในทางที่ถูกต้องนะคะ
"โอเคครับ กลุ่มสุดท้ายครับ"
"ค่ะ กลุ่มของเราได้เรื่อง Social Network กับสังคมไทย ค่ะ"
พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย
พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น
สังคมไทยเราในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะมีสายสัมพันธ์ต่อกันตามธรรมชาติลดน้อยลง จะเห็นได้จาก พูดคุยกันต่อหน้าน้อยลง, ครอบครัวไม่ค่อยได้ทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากัน, คนบ้านใกล้เรือนเคียงพูดจากันน้อยลงและอาจไม่รู้จักกัน, ญาติสนิทมิตรสหายไปมาหาสู่กันน้อยลง, เพื่อนฝูงที่มีก็เป็นเพื่อนที่ทำงาน หรือเพื่อนร่วมงานเสียส่วนใหญ่ และมักคบกันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายทางกิจการงานธุรกิจเป็นสำคัญ, เพื่อนเก่าสมัยเรียนยังเหลือติดต่อกันอยู่ไม่กี่คนและมีแนวโน้มค่อยๆลดลง
ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาพทางสังคมที่ผลักดันให้ต้องดิ้นรนแข่งขันกัน เน้นไปทางวัตถุนิยม จนลืมนึกถึงเรื่องของความสุขทางใจ และสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาด เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ ที่สามารถตอบสนองในการให้คนได้สื่อสารกันง่ายขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ จึงทำให้โทรศัพท์มือถืออาจกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบันไปแล้ว (ในประเทศไทยแทบจะมีทุกคนทุกอาชีพ) และอาจเสริมด้วยอีเมลล์ (E-mail) ในการติดต่อสื่อสารที่ต้องการลายลักษณ์อักษร บันทึกย่อ หรือส่งไฟล์เอกสาร ไฟล์ภาพ ให้กันแทนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์
เพราะฉะนั้น Social Network จึงเข้ามามีบทบาทมากในสังคมไทย ซึ่งก็มีทั้งประโยชน์และโทษค่ะ
"ดีมากครับนักเรียน วันนี้เลิกเรียนได้ เจอกันคาบหน้านะ"
"นักเรียน ทำความเคารพ"
"ขอบคุณครับ/ค่ะ"
Credit.......
http://kanitthamsu.blogspot.com/2012/09/social-network.html
http://www.microbrand.co/social-network-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/
http://smartblogs.com/education/2014/03/25/social-media-gives-professional-development-a-long-tail/
http://trendingdig.com/guides-to-monitize-your-social-media/social-network-people-monitiz/
http://mytjcnews.com/news/are-you-addicted/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น